กระบวนการทำงานของระบบหายใจ
กระบวนการทำงานของระบบหายใจ
เริ่มตั้งแต่เราหายใจผ่านเข้าโพรงจมูก โดยอากาศจะถูกส่งต่อไปยังโพรงจมูก หลอดคอ หลอดเสียง
และหลอดลม จากนั้นอากาศก็จะ๔กุส่งต่อไปยังปอดทั้ง 2 ข้าง ซึ่งวัตถุประสงค์ของการหายใจ คือ
การนำส่งแก๊สออกซิเจนออกจากไปยังเซลล์ต่างๆ
และกำจัดแก๊สเสียโดยนำแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากเซลล์สู่อากาศ
จึงจำเป็นที่จะต้องมีกาถ่ายเทอากาศในถุงลมหลังจากการแลกเปลี่ยนแก๊สกับเลือดแล้ว เพื่อนำอากาศบริสุทธิ์เข้าไปสู่ร่างกาย
และปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากกระบวนการเผาพลาญสารอาหารภายในร่างกาย
ออกสู่ภายนอกร่างกายในรูปของลมหายใจออก
การถ่ายเทอากาศในปอด
เกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อสำหรับหายใจ
โดยกลไกของการหายใจเข้าและหายใจออกนั้นจะเกิดขึ้นสลับต่อเนื่องกัน
ซึ่งเป็นไปตามหลักของความดันบรรยากาศ ดังนี้
การหายใจเข้า
เกิดจากกล้ามเนื้อกะบังลมหดตัว ทำให้แผ่นกะบังลมเลือนต่ำลงมาทางช่องท้อง
เป็นการเพิ่มปริมาตรของช่องอกในแนวตั้ง เนื่องจากเนื้อเยื่อปอดอยู่ประชิดแนบสนิทกับกะบังลม
และช่องว่างระหว่างเนื้อเยื่อปอดกับกะบังลมเป็นสุญญากาศ เมื่อกะบังลมเลื่อนต่ำลงมา
จึงดึงเนื้อเยื่อปอดให้ขยายตัวตามแนวตั้งด้วย ความดันภายในปอดจึงลดลง
อากาศจากภายนอกจึงเข้ามาแทนที่ได้
การหายใจออก เริ่มขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อกะบังลมหรือกล้ามเนื้อยึดระหว่างซี่โครงด้านนอกคลายตัว
เนื่องจาดผนังช่องอกและเนื้อเยื่อปวดมีความยืดหยุ่น
ทั้งผนังช่องอกและเนื้อเยื่อปอดจะหดตัวกลับสู่ปริมาตรเดิม
ทำให้ความดันภายในปอดเพิ่มสูงขึ้นกว่าความดันบรรยากาศอากาศจึงไหลออกจากปอดสู่บรรยากาศภายนอก
การทำงานของกะบังลมในการหายใจเข้าและหายใจออก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น