วันอาทิตย์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ผู้จัดทำ WEB BLOGGER

นายอัสลัน  อีแต
รหัสนักศึกษา 405918002

สาขาวิชาการประถมศึกษา

สรุป

           การหายใจ (breathing) เป็นกระบวนการซึ่งนำอากาศเข้าหรือออกจากปอด สิ่งมีชีวิตที่ต้องการออกซิเจนต้องการไปเพื่อปลดปล่อยพลังงานผ่านการหายใจระดับเซลล์ในรูปเมแทบอลิซึมโมเลกุลพลังงานสูง เช่น กลูโคส การหายใจเป็นเพียงกระบวนการเดียวซึ่งส่งออกซิเจนไปยังที่ที่ต้องการในร่างกายและนำคาร์บอนไดออกไซด์ออก อีกกระบวนการหนึ่งที่สำคัญเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของเลือดโดยระบบไหลเวียน การแลกเปลี่ยนแก๊สเกิดขึ้นในถุงลมปอดโดยการแพร่ของแก๊สระหว่างแก๊สในถุงลมและเลือดในหลอดเลือดฝอยปอด เมื่อแก๊สที่ละลายนี้อยู่ในเลือด หัวใจปั๊มเลือดให้ไหลไปทั่วร่างกาย

องค์ประกอบของระบบหายใจ

องค์ประกอบของระบบหายใจ
ระบบหายใจเป็นกระบวนการหายใจที่ให้อากาศผ่านเข้าออกในร่างกาย ซึ่งประกอบไปด้วยอวัยวะ ๒ ส่วน คือ ส่วนที่เป็นทางผ่านของลมหายใจเข้า-ออก ได้แก่ จมูก ปาก หลอดคอ หลอดเสียง หลอดลม และส่วนที่ทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนแก๊ส ได้แก่ ปอด โดยอวัยวะในแต่ละส่วนก็จะทำหน้าที่แตกต่างกันออกไป 

การทำงานของอวัยวะที่ใช้ประกอบในการหายใจ
1.จมูก (Nose)
                เป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากตรงกึ่งกลางของใบหน้า มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมพีระมิด ภายในรูจมูกจะมีเยื่อบุจมูกและขนจมูกทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศที่หายใจเข้าไปและกรองฝุ่นละออง

ภาพแสดงการหายใจเข้าและหายใจออก

                 2. หลอดคอ (Pharynx)

                        เป็นหลอดตั้งตรงยาวประมาณ 5 นิ้ว ติดต่อทั้งช่องปากและช่องจมูกทำหน้าที่เป็นตัวแยกระหว่างหลอดลมกับหลอดอาหารซึ่งโครงสร้างของหลอดคอประกอบด้วยกระดูกอ่อน 9 ชิ้น โดยชิ้นที่ใหญ่ที่สุด คือ กระดูกธัยรอยด์ หรือ ที่เราเรียกว่า ลูกกระเดือก (Adam’s apple)



ภาพแสดงการทำงานของหลอดคอ

                    3. หลอดลม (Trachea)
                              เป็นส่วนที่ติดต่อจากหลอดเสียงลงไปในทรวงอก ลักษณะรูปร่างของหลอดกลมๆ ประกอบด้วยกระดูกอ่อนรูปวงแหวนวางอยู่ทางด้านหลังหลอดลมทำให้หลอดลมเปิดอยู่ตลอดเวลา ไม่แฟบเข้าหากันโดยแรงดันจากภายนอก ส่งผลให้อากาศเข้าได้ตลอดเวลา


ภาพการทำงานของหลอดลม

             4. หลอดเสียง (Larynx)
                                อยู่ติดใต้หลอดคอ ขณะกลืนอาหารหรือเครื่องดื่มจะมีแผ่นเนื้อเยื่อขนาดเล็ก ที่เรียกว่า ฝากล่องเสียง คอยปิดหลอดลมเพื่อไม่ให้อาหารลงไปผิดช่อง


ภาพการทำงานของหลอดเสียง

                       5. ปอด (Lung)
                                  ถูกห่อหุ้มด้วยกระดูกซี่โครง ภายในปอดจะมีถุงลม ซึ่งทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนแก๊สออกซิเจนกับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์


ภาพการทำงานของปอด





กระบวนการทำงานของระบบหายใจ

กระบวนการทำงานของระบบหายใจ

        กระบวนการทำงานของระบบหายใจ เริ่มตั้งแต่เราหายใจผ่านเข้าโพรงจมูก โดยอากาศจะถูกส่งต่อไปยังโพรงจมูก หลอดคอ หลอดเสียง และหลอดลม จากนั้นอากาศก็จะ๔กุส่งต่อไปยังปอดทั้ง ข้าง ซึ่งวัตถุประสงค์ของการหายใจ คือ การนำส่งแก๊สออกซิเจนออกจากไปยังเซลล์ต่างๆ และกำจัดแก๊สเสียโดยนำแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากเซลล์สู่อากาศ จึงจำเป็นที่จะต้องมีกาถ่ายเทอากาศในถุงลมหลังจากการแลกเปลี่ยนแก๊สกับเลือดแล้ว  เพื่อนำอากาศบริสุทธิ์เข้าไปสู่ร่างกาย และปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากกระบวนการเผาพลาญสารอาหารภายในร่างกาย ออกสู่ภายนอกร่างกายในรูปของลมหายใจออก

การถ่ายเทอากาศในปอด เกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อสำหรับหายใจ โดยกลไกของการหายใจเข้าและหายใจออกนั้นจะเกิดขึ้นสลับต่อเนื่องกัน ซึ่งเป็นไปตามหลักของความดันบรรยากาศ ดังนี้
        การหายใจเข้า เกิดจากกล้ามเนื้อกะบังลมหดตัว ทำให้แผ่นกะบังลมเลือนต่ำลงมาทางช่องท้อง เป็นการเพิ่มปริมาตรของช่องอกในแนวตั้ง เนื่องจากเนื้อเยื่อปอดอยู่ประชิดแนบสนิทกับกะบังลม และช่องว่างระหว่างเนื้อเยื่อปอดกับกะบังลมเป็นสุญญากาศ เมื่อกะบังลมเลื่อนต่ำลงมา จึงดึงเนื้อเยื่อปอดให้ขยายตัวตามแนวตั้งด้วย ความดันภายในปอดจึงลดลง อากาศจากภายนอกจึงเข้ามาแทนที่ได้
        การหายใจออก เริ่มขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อกะบังลมหรือกล้ามเนื้อยึดระหว่างซี่โครงด้านนอกคลายตัว เนื่องจาดผนังช่องอกและเนื้อเยื่อปวดมีความยืดหยุ่น ทั้งผนังช่องอกและเนื้อเยื่อปอดจะหดตัวกลับสู่ปริมาตรเดิม ทำให้ความดันภายในปอดเพิ่มสูงขึ้นกว่าความดันบรรยากาศอากาศจึงไหลออกจากปอดสู่บรรยากาศภายนอก

        

การทำงานของกะบังลมในการหายใจเข้าและหายใจออก

บทนำ



การทำงานของระบบอวัยวะต่างๆ ในร่างกายนั้นล้วนมีการทำงานที่ประสานสัมพันธ์กันไม่สามารถที่จะแยกออกจากกันได้ การดำรงชีวิตของมนุษย์ก็ขึ้นอยู่กับการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย หากระบบใดระบบหนึ่งหรือหลายระบบทำงานผิดปกติ ย่อมส่งผลให้สภาวะสุขภาพโดยรวมเกิดปัญหาขึ้นได้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานแก่ร่างกายและจิตใจ หรือถ้าร้ายแรงก็อาจทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้น จึงต้องมีการเรียนรู้ถึงกระบวนการสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบ อวัยวะต่างๆ ในร่างกาย อย่างถูกวิธี เพื่อให้ร่างกายสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข

ระบบหายใจ

ระบบหายใจ

ระบบหายใจ คือ การดำรงชีวิตของมนุษย์จำเป็นต้องอาศัยแก๊สออกซิเจน ซึ่งได้มาจากระบบหายใจเข้า  ออก แลกเปลี่ยนอากาศกับสิ่งแวดล้อมภายนอก ระบบหายใจจึงเป็นกระบวนการสำคัญที่มีหน้าที่ในการช่วยแลกเปลี่ยนแก๊สออกซิเจนและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่างเลือดกับอากาศ โดยแก๊สออกซิเจนที่ได้จะเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเผาพลาญสารอาหารให้ออกมาเป็นพลังงาน เพื่อใช้ในการดำรงชีวิต ถ้าร่างกายขาดแก๊สออกซิเจนเป็นอากาศที่ใช้ในการหายใจก็จะทำให้เสียชีวิตได้